งูสวัด
โรคงูสวัด (Herpes zoster) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster virus หรือเรียกย่อๆ ว่า VZV ทำให้มีตุ่มเล็กๆ ขึ้นผื่นเป็นแนวยาวๆ ที่ผิวหนังในบริเวณที่พบบ่อยคือแนวบั้นเอวหรือชายโครง ใบหน้า แขน หรือขา เพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
เชื้อไวรัส VZV ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคงูสวัด เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่เกิดโรคอีสุกอีใส ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเด็กจะมีอาการของโรคอีสุกอีใส เละเชื้อไวรัสชนิดนี้จะหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาทใต้ผิวหนัง เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียด อายุมาก ทำงานหนัก ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมะเร็ง ใช้ยาต้านมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ก็จะเพิ่มจำนวนและกระจายในปมประสาทจนทำให้เส้นประสาทอักเสบ
อาการของโรคงูสวัด แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มต้น จะมีอาการปวดแสบร้อนลึกๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ทั้งนี้เพราะช่วงนี้ภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลง ทำให้เชื้อไวรัสเริ่มเพิ่มจำนวนเกิดการติดเชื้อในระบบประสาท จึงมีอาการปวดแสบร้อนลึกๆ ในระดับเส้นประสาท
ระยะที่สอง หลังจากที่ปวดแสบร้อนประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีผื่นแดง ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเต่งๆ (คล้ายหยดน้ำกลิ้งบนใบบัว) เรียงกันเป็นกลุ่มๆ เป็นแนวยาวตามเส้นประสาทเป็นหย่อมๆ เช่น ตามความยาวของแขน ขา หรือรอบเอว รอบหลัง หรือศีรษะ เป็นต้น ตุ่มน้ำใสเต่งๆ ของงูสวัดนี้จะแตกออกเป็นแผล ต่อมาก็จะตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
ระยะที่สาม เมื่อตุ่มแตก และแผลหายดีแล้วส่วนใหญ่จะยังปวดแสบร้อนลึกๆ ตามรอยแนวของโรค บางคนอาจเกิดได้อีกเป็นเดือน หรือหลายๆ เดือน โดยเฉพาะผู้สูงอายุบางคนอาจปวดอยู่เป็นปี
ส่วนความเชื่อว่าถ้างูสวัดพันรอบตัวผู้ป่วยจะตายนั้น ไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะแนวเส้นประสาทจะสิ้นสุดบริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนที่ภูมิต้านทานปกติ แผลจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัว ยกเว้นคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ
อย่างไรก็ตาม งูสวัด เป็นโรคที่เชื่อว่าไม่ติดต่อ เป็นแล้วหายเองได้ แต่ควรรักษาแผลให้สะอาด
ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริก 3% ประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็ชุบเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15 นาที
ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระวังการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ถ้าปวดแผลมาก รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือใช้เสลดพังพอนตำผสมพิมเสนและดินสอพองประคบที่แผล
ส่วนยาต้านไวรัส เพื่อช่วยระงับอาการและทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง ทั่วไปใช้ยาอะซัยโคลเวียร์ (acyclovir) แบบทา แคปซูลและยาฉีด ตามอาการ คือหากเป็นในระยะเริ่มต้น ควรทายาให้เร็วที่สุด เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส
ขณะเดียวกันก็ไม่ควรแกะ เกาแผล เพราะจะทำให้ลุกลาม หายยากขึ้นด้วย ส่วนอาหาร กินได้ทุกอย่างไม่มีข้อห้าม ยกเว้นของหมักดองที่ควรจะงด ในรายเป็นมากจะต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลhttp://www.khaosod.co.th
![]() |
เชื้อไวรัส VZV ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคงูสวัด เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่เกิดโรคอีสุกอีใส ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเด็กจะมีอาการของโรคอีสุกอีใส เละเชื้อไวรัสชนิดนี้จะหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาทใต้ผิวหนัง เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียด อายุมาก ทำงานหนัก ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมะเร็ง ใช้ยาต้านมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ก็จะเพิ่มจำนวนและกระจายในปมประสาทจนทำให้เส้นประสาทอักเสบ
อาการของโรคงูสวัด แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มต้น จะมีอาการปวดแสบร้อนลึกๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ทั้งนี้เพราะช่วงนี้ภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลง ทำให้เชื้อไวรัสเริ่มเพิ่มจำนวนเกิดการติดเชื้อในระบบประสาท จึงมีอาการปวดแสบร้อนลึกๆ ในระดับเส้นประสาท
ระยะที่สอง หลังจากที่ปวดแสบร้อนประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีผื่นแดง ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเต่งๆ (คล้ายหยดน้ำกลิ้งบนใบบัว) เรียงกันเป็นกลุ่มๆ เป็นแนวยาวตามเส้นประสาทเป็นหย่อมๆ เช่น ตามความยาวของแขน ขา หรือรอบเอว รอบหลัง หรือศีรษะ เป็นต้น ตุ่มน้ำใสเต่งๆ ของงูสวัดนี้จะแตกออกเป็นแผล ต่อมาก็จะตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
ระยะที่สาม เมื่อตุ่มแตก และแผลหายดีแล้วส่วนใหญ่จะยังปวดแสบร้อนลึกๆ ตามรอยแนวของโรค บางคนอาจเกิดได้อีกเป็นเดือน หรือหลายๆ เดือน โดยเฉพาะผู้สูงอายุบางคนอาจปวดอยู่เป็นปี
ส่วนความเชื่อว่าถ้างูสวัดพันรอบตัวผู้ป่วยจะตายนั้น ไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะแนวเส้นประสาทจะสิ้นสุดบริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนที่ภูมิต้านทานปกติ แผลจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัว ยกเว้นคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ
อย่างไรก็ตาม งูสวัด เป็นโรคที่เชื่อว่าไม่ติดต่อ เป็นแล้วหายเองได้ แต่ควรรักษาแผลให้สะอาด
ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริก 3% ประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็ชุบเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15 นาที
ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระวังการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ถ้าปวดแผลมาก รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือใช้เสลดพังพอนตำผสมพิมเสนและดินสอพองประคบที่แผล
ส่วนยาต้านไวรัส เพื่อช่วยระงับอาการและทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง ทั่วไปใช้ยาอะซัยโคลเวียร์ (acyclovir) แบบทา แคปซูลและยาฉีด ตามอาการ คือหากเป็นในระยะเริ่มต้น ควรทายาให้เร็วที่สุด เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส
ขณะเดียวกันก็ไม่ควรแกะ เกาแผล เพราะจะทำให้ลุกลาม หายยากขึ้นด้วย ส่วนอาหาร กินได้ทุกอย่างไม่มีข้อห้าม ยกเว้นของหมักดองที่ควรจะงด ในรายเป็นมากจะต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลhttp://www.khaosod.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น