กลองชัยมงคล
กลองชัยมงคล หรือกลองชัย หรือกลองจัยยะ หรือกลองจัยยะมงคล เป็นกลองเก่าแก่ดั้งเดิมของล้านนา ซึ่งปรากฏชื่อในคัมภีร์ธรรมล้านนา เป็นกลองต้นแบบที่พัฒนาไปสู่กลองปูชาและกลองสะบัดชัย โดยจากช่วงเวลาในอดีตจวบจนปัจจุบัน กลองชัยมงคลก็ดี กลองปูชาก็ดี กลองสะบัดชัยก็ดี ยังคงมีบทบาทหน้าที่รับใช้สังคมเสมอมา ทั้งนี้ คำว่า จัยยะ หมายถึงชัยชนะ และคำว่า มงคล หมายถึงดีงาม
เดิมกลองชัยมงคลมีบทบาทรับใช้ราชอาณาจักร เจ้าผู้ครองนครใช้ในยามเกิดศึกสงคราม เพื่อตีเป็นอาณัติสัญญาณการจัดกระบวนทัพในการออกศึก ซึ่งทหารจะต้องรู้อาณัติสัญญาณของกลองว่าตีจังหวะใดจะแปรรูปขบวนในลักษณะใด เช่น ปีกกา หรือถลาออกซ้าย/ขวา หรือถอยซ้าย/ขวา หรือประโคมเมื่อได้ชัยชนะ
ครั้นถึงยุคที่อำนาจของผู้ปกครองหมดไป กลองชัยมงคลถูกนำมาใช้ในพุทธจักร โดยนำมาประดิษฐานไว้ในหอกลองในวัด ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นกลองปูชา และมีการประดิษฐ์ท่วงทำนองการตีกลองใหม่ เป็นการตีถวายเป็นพุทธบูชา บอกกล่าวเทพยดาได้รับรู้ ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ ประเพณีสมโภชเมือง ประเพณีอินทขีล โดยเฉพาะประเพณีอินทขีล บรรดาพ่อครู แม่ครู ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะการฟ้อนดาบ จ๊อย ซอ จะมาแสดงเป็นการเฉลิมฉลอง กลองชัยมงคลก็จะถูกนำมาร่วมแสดงในจังหวะปู๋จาธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ จังหวะขอฝนแสนห่า
กลองชัยมงคลดั้งเดิมซึ่งใช้ในราชอาณาจักรเชียงใหม่ และเปลี่ยนมาเป็น กลองพุทธจักรในภายหลัง คือกลองชัย มงคลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ประดิษฐานที่วัดสระเกษ (วัดเกต การาม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดปรับใช้เป็นกลองปูชาประจำวัด
กลองชัยมงคลเป็นกลองชุดขนาดใหญ่ประกอบด้วย 1.กลองใบใหญ่ 1 ลูก เรียกว่า แม่กลอง ทำด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ดอกแก้ว ไม้ขนุน ไม้ตะเคียน แล้วแต่ความต้องการของช่างหรือผู้ที่สั่งทำเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ
เป็นกลองขึงด้วยหมุดไม้ ปล่อยหัวหมุดให้ยื่นพ้นออกมานอกตัวกลอง หน้ากลองกว้างประมาณ 29-40 นิ้ว 2.กลองใบเล็ก 3 ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ทำด้วยไม้และขึงด้วยหนังทั้งสองหน้าตรึงด้วยหมุดไม้เช่นเดียวกับแม่กลอง ลูกที่ 1 หน้ากว้าง 11-15 นิ้ว ลูกที่ 2 หน้ากว้าง 12-15 นิ้ว ลูกที่ 3 หน้ากว้าง 13, 15 หรือ 17 นิ้ว มีไม้ค้อนเป็นไม้ตี พันด้วยผ้าล้วนๆ ใช้ตีด้วยมือข้างขวา กับไม้แจ่ม เป็นไม้ตี ทำด้วยไม้ไผ่ฉีกปลายออกเป็นซี่ๆ ใช้ตีด้วยมือข้างซ้าย
ส่วนเครื่องดนตรีที่นำมาตีประกอบคือฉาบ 1 คู่ และฆ้อง หรือโหม่ง 9 ใบ ตีประกอบจังหวะเป็นทำนองต่างๆ
จังหวะและท่วงทำนองเพลงของกลองชัยมงคลมีลีลางดงาม เนื่องจากเป็นการตีในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา งานบุญ งานกุศล เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา มีการตั้งจิตระลึกพระคาถาไปพร้อมๆ กับจังหวะการตีกลองว่า "อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริ สทัมมสารถิ สัตถาเทวมนุส สานัง พุทโธ ภควาติ พามาอุกสนทุ"
ส่วนมากแต่ละวัดในล้านนามีกลองปูชาซึ่งพัฒนาการมาจากกลองชัยมงคลประดิษฐานและใช้ตีอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว โดยถือว่ากลองชัยมงคลเป็นมรดกคู่กับแผ่นดินล้านนาที่ทรงคุณค่า บ่งบอกประวัติศาสตร์ความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น เป็นมรดกของแผ่นดินที่ชาวล้านนาทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และเป็นผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น
ศิลปินกลองชัยมงคลคนสำคัญคือ พ่อครูมานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง พ.ศ.2548
ขอบคุณข้อมูลhttp://www.khaosod.co.th
![]() |
เดิมกลองชัยมงคลมีบทบาทรับใช้ราชอาณาจักร เจ้าผู้ครองนครใช้ในยามเกิดศึกสงคราม เพื่อตีเป็นอาณัติสัญญาณการจัดกระบวนทัพในการออกศึก ซึ่งทหารจะต้องรู้อาณัติสัญญาณของกลองว่าตีจังหวะใดจะแปรรูปขบวนในลักษณะใด เช่น ปีกกา หรือถลาออกซ้าย/ขวา หรือถอยซ้าย/ขวา หรือประโคมเมื่อได้ชัยชนะ
ครั้นถึงยุคที่อำนาจของผู้ปกครองหมดไป กลองชัยมงคลถูกนำมาใช้ในพุทธจักร โดยนำมาประดิษฐานไว้ในหอกลองในวัด ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นกลองปูชา และมีการประดิษฐ์ท่วงทำนองการตีกลองใหม่ เป็นการตีถวายเป็นพุทธบูชา บอกกล่าวเทพยดาได้รับรู้ ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ ประเพณีสมโภชเมือง ประเพณีอินทขีล โดยเฉพาะประเพณีอินทขีล บรรดาพ่อครู แม่ครู ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะการฟ้อนดาบ จ๊อย ซอ จะมาแสดงเป็นการเฉลิมฉลอง กลองชัยมงคลก็จะถูกนำมาร่วมแสดงในจังหวะปู๋จาธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ จังหวะขอฝนแสนห่า
กลองชัยมงคลดั้งเดิมซึ่งใช้ในราชอาณาจักรเชียงใหม่ และเปลี่ยนมาเป็น กลองพุทธจักรในภายหลัง คือกลองชัย มงคลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ประดิษฐานที่วัดสระเกษ (วัดเกต การาม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดปรับใช้เป็นกลองปูชาประจำวัด
กลองชัยมงคลเป็นกลองชุดขนาดใหญ่ประกอบด้วย 1.กลองใบใหญ่ 1 ลูก เรียกว่า แม่กลอง ทำด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ดอกแก้ว ไม้ขนุน ไม้ตะเคียน แล้วแต่ความต้องการของช่างหรือผู้ที่สั่งทำเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ
เป็นกลองขึงด้วยหมุดไม้ ปล่อยหัวหมุดให้ยื่นพ้นออกมานอกตัวกลอง หน้ากลองกว้างประมาณ 29-40 นิ้ว 2.กลองใบเล็ก 3 ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ทำด้วยไม้และขึงด้วยหนังทั้งสองหน้าตรึงด้วยหมุดไม้เช่นเดียวกับแม่กลอง ลูกที่ 1 หน้ากว้าง 11-15 นิ้ว ลูกที่ 2 หน้ากว้าง 12-15 นิ้ว ลูกที่ 3 หน้ากว้าง 13, 15 หรือ 17 นิ้ว มีไม้ค้อนเป็นไม้ตี พันด้วยผ้าล้วนๆ ใช้ตีด้วยมือข้างขวา กับไม้แจ่ม เป็นไม้ตี ทำด้วยไม้ไผ่ฉีกปลายออกเป็นซี่ๆ ใช้ตีด้วยมือข้างซ้าย
ส่วนเครื่องดนตรีที่นำมาตีประกอบคือฉาบ 1 คู่ และฆ้อง หรือโหม่ง 9 ใบ ตีประกอบจังหวะเป็นทำนองต่างๆ
จังหวะและท่วงทำนองเพลงของกลองชัยมงคลมีลีลางดงาม เนื่องจากเป็นการตีในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา งานบุญ งานกุศล เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา มีการตั้งจิตระลึกพระคาถาไปพร้อมๆ กับจังหวะการตีกลองว่า "อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริ สทัมมสารถิ สัตถาเทวมนุส สานัง พุทโธ ภควาติ พามาอุกสนทุ"
ส่วนมากแต่ละวัดในล้านนามีกลองปูชาซึ่งพัฒนาการมาจากกลองชัยมงคลประดิษฐานและใช้ตีอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว โดยถือว่ากลองชัยมงคลเป็นมรดกคู่กับแผ่นดินล้านนาที่ทรงคุณค่า บ่งบอกประวัติศาสตร์ความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น เป็นมรดกของแผ่นดินที่ชาวล้านนาทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และเป็นผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น
ศิลปินกลองชัยมงคลคนสำคัญคือ พ่อครูมานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง พ.ศ.2548
ขอบคุณข้อมูลhttp://www.khaosod.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น